top of page
เรื่อง "กล้วยตากเขมราฐ"

      จากคำขวัญประจำอำเภอเขมราฐที่ว่า “ต้นตำหรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม มะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง” คำว่า          “กล้วยตากรสดี”ที่ปรากฎในคำขวัญประจำอำเภอเขมราฐแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และความเป็นมาของกล้วยตาก และในปัจจุบัน จำนวนครัวเรือนที่ทำกล้วยตากเป็นอาชีพหลักลดจำนวนลงและคนที่ทำกล้วยตากเป็นอาชีพหลักนั้นก็จะเป็นรุ่นคนยายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ แม้จะมีลูกหลานมาช่วยแต่ทุกคนก็มีอาชีพหรือหน้าที่เป็นของตัวเอง จึงเป็นที่น่าสนใจว่า หากไม่มีใครให้ความสำคัญกับกล้วยตากที่เป็นของขึ้นชื่อประจำท้องถิ่นตนเอง อาชีพทำกล้วยตาก อาจหายไปจากท้องถิ่นได้ (จากปัจจุบันที่มีคนยึดอาชีพกล้วยตากเป็นรายได้หลักไม่ถึง 10 ครัวเรือน)

  พื้นฐานความรู้เดิมที่โรงเรียนหรือชุมชนมีอยู่ (ในบริบทที่เกี่ยวกับประเด็นหลักนี้) ในท้องถิ่นเขมราฐมีการทำกล้วยตากมายาวนาน และเป็นของขึ้นชื่อประจำอำเภอเขมราฐ จนเป็นหนึ่งของดีที่อยู่ในคำขวัญประจำอำเภอ และในวิถีชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ได้พบเห็นการทำกล้วยตากในชุมชนที่ส่วนใหญ่จะเป็นคุณย่าคุณยาย ผู้สูงอายุเป็นคนทำ อาจจะมีลูกหลานช่วยบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำด้วยตลอด เพราะลูกหลานก็มีภาระหน้าที่อื่น มีงานประจำ หรือเรียนหนังสือ 

 

 

      

คุณครูคนเก่งของเรา
ของดี
 เขมราษฎร์ธานี
bottom of page