top of page

โครงงานที่ 1

โครงงานกล้วยตากกับภูมิปัญญาบรรพชนคนเขมราฐ
ที่มาและความสำคัญ

   คำขวัญประจำจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้แต่หมู่บ้าน ต่างก็นำเอาเอกลักษณ์ที่แสดงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ที่นำมาร้อยเรียงเป็นถ้อยคำที่สละสลวยเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ หรือการประชาสัมพันธ์ สิ่งที่แฝงอยู่ในคำขวัญจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแต่ละพื้นที่ ซึ่งหมายถึงความสำคัญในด้านต่างๆทั้งในด้านภูมิทัศน์ เศรษฐกิจ ประพณีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวมากมายต่างก็นำมากลั่นกรองแล้วถ่ายทอดมาเป็นคำขวัญ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ก็มีความคำขวัญประจำอำเภอที่แสดงตัวตนของอำเภอเขมราฐไว้ดังนี้

     “ต้นตำหรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยามมะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่พรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง”

       คำว่า “กล้วยตากรสดี”ที่ปรากฎในคำขวัญประจำอำเภอเขมราฐแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมถ่ายทอดถึงลูกหลานในสมัยปัจจุบัน วันเวลาผ่านไป จึงบ่มเพราะความภูมิใจ ในวิถีชีวิตของชุมชนที่เกี่ยวกับการทำกล้วยตาก จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอเขมราฐ

 



สมาชิกในกลุ่ม

1.1นางสาวธนพร  ทิวะสิงห์

 

1.2นางสาวมาลินี  แก้วชิณ

 

1.3นางสาวจารุวรรณ  จูมนา

 

1.4นางสาวธนาภรณ์  ประทุมทอง

 

bottom of page