top of page

โครงงานที่ 7

การบ่มกล้วยด้วยใบไม้ต่างชนิด
ที่มาและความสำคัญ

       จากที่กลุ่มของพวกเราได้ลงพื้นที่ศึกษาการทำกล้วยตากที่บ้านเหนือเขมราฐ มีการทำกล้วยตากจำนวนมาก กล้วยที่นำมา

ทำกล้วยตากเป็นกล้วยดิบ   แล้วนำมาบ่มเองจะต้องใช้เวลาในการบ่ม 5-6 วัน กล้วยจึงจะสุก มันช้า จึงทำให้ต้องรอให้กล้วยสุกและทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค พวกเราจึงสนใจในการบ่มกล้วยที่จะทำให้กล้วยสุกเร็ว ซึ่งหากปล่อยให้สุกเอง จะมีบางผลสุกก่อน บางผลสุกช้า เนื่องจากการเก็บเกี่ยวของแต่ละผลไม่เท่ากัน ทำให้ไม่สะดวกต่อการอุปโภคบริโภค และปัจจุบันมีผู้ที่นิยมรับประทานกล้วยสุกกันมาก และกล้วยสุกที่วางขายตามตลาดเกษตรกรนิยมใช้แก๊ส (แคลเซียมคาร์ไบด์) ทำการบ่ม

เพื่อให้กล้วยสุกพร้อมกันตามต้องการ แต่การใช้แก๊สก็มีปัญหาที่กลิ่นฉุน เนื้อกล้วยแข็งไม่น่ารับประทาน

เปลือกกล้วยที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไม่สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีกลิ่นแก๊สติดอยู่

      นอกจากนั้น อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลไม้ที่ได้จากการบ่มด้วยก๊าซ รสชาติไม่ดีเหมือนกับที่บ่มหรือสุกตามธรรมชาติเป็นเพราะในกระบวนการสุกนั้น มีกระบวนการย่อย ๆ หลายกระบวนการ เช่น การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล การสลายตัวของกรด การอ่อนนุ่มของเนื้อ การเปลี่ยนสี ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลงไม่เท่า กัน ในธรรมชาติเมื่อผลไม้สุกด้วยก๊าซ  ก๊าซจะเร่งกระบวนการสุกแต่ละกระบวนการให้เกิดเร็วขึ้นได้ต่างกันออกไป ไม่ได้สัดส่วนเหมือนในธรรมชาติ  ดังนั้นคุณภาพของผลไม้ที่บ่มให้สุกด้วยก๊าซอาจไม่ดีเท่าบ่มธรรมชาติ  โดยเฉพาะถ้าใช้ก๊าซความเข้มข้นสูงเพื่อบ่มให้ผลไม้สุกในเวลาอันสั้น

            พวกเราจึงคิดหาวิธีการบ่มกล้วยด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไป มีปริมาณมากและหาง่ายเราจึงทำการทดลองเกี่ยวกับการบ่มกล้วยโดยใช้ใบขี้เหล็ก เพราะใบขี้เหล็กมีสารเอทิลิน ซึ่งป็นสารที่ทำให้กล้วยสุกเร็ว การบ่มกล้วยด้วยวิธีนี้ทำให้กล้วยสุกสม่ำเสมอ มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เนื้อกล้วยไม่แข็ง มีความปลอดภัย

ไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เปลือกกล้วยสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีความปลอดภัยในการบ่ม

ลดระยะเวลาการสุกของกล้วยตามธรรมชาติที่ใช้เวลานาน

และลดการวางไข่ของแมลงวันทองในผลผลิตทางการเกษตรด้วย.

 รวมทั้งใบขี้เหล็กสามารถเร่งการสุกของผลไม้ชนิดอื่นได้ด้วย เช่น น้อยหน่า ละมุด มะม่วง เป็นต้น     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาชิกในกลุ่ม

1.1นางสาว สุนิสา สมพล

 

1.2นางสาว ชลธิชา บุญมี

 

1.3นางสาว ศิริกัญญารัตน์ จันทมาศ

 

1.4นาย สมชาย กำลังงาม

 

1.5นาย เดโชชัย จันทะเสน

 

 

   

 

bottom of page