top of page

โครงงานที่ 4

การเปรียบเทียบการตากกล้วยแบบธรรมดาและ
การตากกล้วยในเตาอบ
ที่มาและความสำคัญ

     กล้วยที่นิยมรับประทานกันในบ้านเรานั้นมีอยู่หลากหลายสานพันธุ์ เช่น กล้วยหอมกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุม เป็นต้น

แต่สำหรับต่างชาติแล้วกล้วยที่นิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกล้วยหอม เนื่องจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์แล้วมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุชัดเจนว่าการรับประทานกล้วยแค่ 2ลูกจะช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกายได้เทียบเท่ากับการออกกำลังกายถึง 90 นาทีเลยทีเดียว เพราะกล้วยอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติรวมถึง 3 ชนิดเลยทีเดียวนั่นก็คือ ซูโครส กลูโคส และฟรุคโทส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายนั่นเองนอกจากนี้แล้วในกล้วยยังอุดมไปด้วยเส้นใยและกากอาหาร และยังวิตามินและแร่ธาตุนาๆชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินบี12 และวิตามินซี เป็นต้น   คุณรู้หรือไม่ผลไม้อย่าง แอปเปิ้ลที่ขึ้นชื่อเรื่องความมีประโยชน์ก็ยังแพ้กล้วย เพราะว่าในกล้วยนั้นมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 2 เท่า โดยมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีโปรตีนมากกว่า 4 เท่า วิตามินเอและธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่าด้วยกัน!! โดยการกินกล้วยจะให้ดีที่สุดคือกินตอนเช้าเพื่อจะช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้ดี และการกินกล้วยทุกวันวันละ 2 ผลถือเป็นสิ่งที่ดีและวิเศษมากๆ จะกล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าก็ได้ทั้งนั้น (http://frynn.com)

เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีความนิยมปลูกมากในพื้นที่อำเภอเขมราฐและเป็นกล้วยชนิดเดียวที่สามารถนำมาแปรเป็นผลผลิตดได้มากกว่ากล้วยชนิดอื่น และหนึ่งในนั้นคือการทำกล้วยตากนอกจากเป็นการแปรรูปของผลผลิตแล้วยังเป็นการถนอมอาหารอีกอย่างหนึ่งด้วย  กล้วยตากเป็นของขึ้นชื่อของอำเภอเขมราฐแต่การทำกล้วยตากจะทำได้แค่ฤดูที่มีแดด  นอกจากฤดูที่มีแดดก็ไม่สามารถทำกล้วยตากได้  ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีการคิดทดลองผลิตตู้อบ  ที่จะใช้อบกล้วยตากในฤดูฝน  นอกจากนี้การที่เราตากกล้วยในตู้อบยังทำให้เราไม่ประสบปัญหากับแมลงที่มาดูดน้ำหวาน  และฝุ่นละออง  ทำให้ได้กล้วยตากที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการตากกล้วยแบบธรรมดา  อีกทั้งยังสามารถทำกล้วยตากได้ทุกฤดูแล้วยังสามารถลดเวลาการตากกล้วยได้ถึง 2 เท่า(จากปกติตาก 6  วัน)  ทำให้เราทำกล้วยตากได้มากขึ้น  และเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค  รวมทั้งเปรียบเทียบว่าการตากกล้วยแบบใดจะทำให้ได้กล้วยตากที่มีรสชาติอร่อยที่สุดและปลอดภัยที่สุด

สมาชิกในกลุ่ม

1.1นางสาว จันทร์จิรา เหลือจันทร์

 

1.2นางสาว จันทร์จิรา เหลือจันทร์

 

1.3นางสาวยลดี ขันตี

 

1.4นางสาวพุทธิดา อุดมศิลป์

 

1.5นางสาว รวิวรรณ จันทอก

 

bottom of page