



โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา

Khemmaratpittayakom
SPM.29



โครงงานที่ 5


ศึกษาการหมักเนื้อนุ่มจากเปลือกกล้วย

ที่มาและความสำคัญ
เนื่องจากในกรรมวิธีการทำกล้วยตาก จะมีวัสถุดิบหลงเหลือจากการทำกล้วยตากคือ เปลือกกล้วย โดยเปลือกกล้วยเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เปลือกกล้วยมีส่วนสามรถทำให้มือนุ่ม และนำไปเป็นอาหารของพวกสุกร เพราะเปลือกกล้วยช่วยในการเจริญเติบโตของสุกร เป็นต้น
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคิดจะหาประโยชน์จากเปลือกกล้วยที่หลงเหลือจากการทำกล้วยตาก จากที่คณะผู้จัดทำได้ศึกษาพบว่าในเปลือกกล้วยด้านในมีสารบางอย่าง ซึ่งเป็นสารที่สามารถทำให้ข้อศอกและเท้าหายแตกเมื่อนำเปลือกกล้วยมาถูบริเวณข้อศอกและเท้าที่แตก พบว่าสามารถทำให้ข้อศอกและเท้าที่แตกมีความนุ่มและชุ่มชื้นขึ้น และคณะผู้จัดทำยังได้ศึกษาความเป็นกรด-เบสของเปลือกกล้วย พบว่ากล้วยหรือเปลือกกล้วยมีคุณสมบัติเป็นเบส และจากการศึกษาข้อมูลสารที่ใช้ในการหมักเนื้อคือ ผงฟูหรือเบคกิ้งโซดาซึ่งก็มีคุณสมบัติเป็นเบสเหมือนกัน คณะผู้จัดทำจึงมีความเห็นว่าเมื่อเยื่อในเปลือกกล้วยด้านในสามารถทำให้ข้อศอกที่แห้งกร้านมีความนุ่มชุ่มชื่นขึ้นได้และมีคุณสมบัติคล้ายสารหมักเนื้อจึงคิดจะนำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการหมักเนื้อให้นุ่ม เพื่อจะใช้ทดแทนการใช้สารเคมีในการหมักเนื้อ เพราะการใช้เยื่อในเปลือกกล้วยเป็นวิธีการทางธรรมชาติปลอดจากสารเคมีจึงมีความปลอดภัยต่อผู้ที่รับประทาน


สมาชิกในกลุ่ม
1.1นายฐาปกรณ์ เหลาผา
1.2นายกรรชัย เพ็งงาม
1.3นายนันธวัฒน์ จันทร์ดอกรัก
1.4นางสาวอรญา ทองภู
1.5นางสาวพุทธิญา อุดมศิลป์



