top of page

โครงงานที่ 8

กล้วยตากเสริมไอโอดีน
ที่มาและความสำคัญ

       กล้วยตาก ถือว่าเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอเขมราฐเลยก็ว่าได้ จากคำขวัญของอำเภอเขมราฐ  คือ

             “ต้นตำรับตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎ์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม

                 มะขามหวานหลายหลากกล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง” 

     โดยกล้วยตากของเขมราฐจะนุ่ม มีรสหอมหวานตามธรรมชาติเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และการทำกล้วยตากยังเป็นอาชีพหลักของคนเขมราฐ ซึ่งกล้วยมีประโยชน์มาก ไม่ว่าจะเป็นการให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาโรคได้ เช่น โรคท้องผูก อาการท้องเสีย   อาการเมาค้าง โรคความซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเป็นต้น

              จากการศึกษาการทำของหวานพบว่ามีการเติมเกลือเพื่อตัดรสที่หวานเกินไปและให้มีรสชาติกลมกล่อม เนื่องจากภาคอีสานเป็นบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากทะเล จึงทำให้ประชาชนบริเวณนี้ขาดสารไอโอดีน และเกลือที่ใช้ในการประกอบอาหารส่วนมากเป็นเกลือสินเธาว์ และไม่นิยมใช้เกลือไอโอดีนและเกิดการเจ็บป่วยต่างๆคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะเพิ่มเกลือในกล้วยเพื่อตัดรสหวานของกล้วยให้มีรสชาติกลมกล่อมและให้คนเขมราฐได้รับสารไอโอดีนเพิ่มปในตัวโดยการเพิ่มเกลือไอโอดีนลงไปในขั้นตอนการทำกล้วยตาก โดยไอโอดีนช่วยป้องกันโรคต่างๆได้มากมาย คณะผู้จัดทำจึงออกแบบการทดลอง เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคกล้วยตากได้รับสารไอโอดีนด้วยและมีทางเลือกในการบริโภคกล้วยตาก โดยการให้ผู้บริโภคชิมและให้แบบสอบถามเพื่อพัฒนากล้วยตากให้มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ดังนั้นกล้วยตากของเขมราฐนอกจากจะอร่อยแล้วยังมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย

    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาชิกในกลุ่ม

1.1นาย โสภณ  ประชุมแดง

 

1.2นาย อรรถชัย  บุญเนตร

 

1.3นาย พงศกร  ชอบเพื่อน

 

1.4น.ส. ลูกเกษ  สุขสิมมา

 

1.5น.ส. ศศิวิมล  กล่อมเกลี้ยง

 

 

   

 

bottom of page